ต้นหูกวาง ต้นไม้ประจำจังหวัดตราด

ต้นหูกวาง
ต้นไม้ประจำจังหวัดตราด

ต้นไม้ประจำจังหวัดตราด - ต้นหูกวาง
ต้นไม้ประจำจังหวัด            ตราด
ชื่อพันธุ์ไม้                          หูกวาง
ชื่อสามัญ                           Bengal Almond, Indian Almond, Sea Almond
ชื่อวิทยาศาสตร์                 Terminalia catappa Linn.
วงศ์                                     COMBRETACEAE
ชื่ออื่น                                 โคน (นราธิวาส), ดัดมือ ตัดมือ (ตรัง), ตาปัง (พิษณุโลก, สตูล), ตาแปห์ (มลายู-นราธิวาส), หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี), หูกวาง (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป                     เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 8–25 เมตร เปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้นๆ คล้ายฉัตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง ใบรูปไข่ ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้นๆ โคนใบสอบแคบ เว้า ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ขนาดเล็ก สีขาวนวล ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลเป็นรูปไข่หรือรูปรีป้อมๆ แบนเล็กน้อย เมื่อแห้งสีดำคล้ำ
ขยายพันธุ์                          โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม               ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี
ถิ่นกำเนิด                            ป่าชายหาด หรือตามโขดหินริมทะเล

ที่มา                                     http://www.panmai.com/PvTree/tr_16.shtml

ต้นศรีตรัง ประจำจังหวัดตรัง

ต้นศรีตรัง
ต้นไม้ประจำจังหวัดตรัง

ต้นไม้ประจำจังหวัดตรัง - ต้นศรีตรัง

ต้นไม้ประจำจังหวัด           ตรัง 
ชื่อพันธุ์ไม้                           ศรีตรัง 
ชื่อสามัญ 
ชื่อวิทยาศาสตร์                 Jacaranda filicifolia D. Don. 
วงศ์                                       BIGNONIACEAE 
ชื่ออื่น                                   แคฝอย (กรุงเทพฯ), ศรีตรัง (ตรัง) 
ลักษณะทั่วไป                     เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 5–10 เมตร เรือนยอดโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงกันข้าม ใบย่อยเล็ก ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่ง ดอกสีม่วง กลีบดอก 5 กลีบเชื่อมกันเป็นหลอด เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม.ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีปีก 
ขยายพันธุ์                          โดยการเพาะเมล็ด 
สภาพที่เหมาะสม              ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง 
ถิ่นกำเนิด                           เป็นไม้ท้องถิ่นของอเมริกาใต้ 

ที่มา                                      http://www.panmai.com/PvTree/tr_15.shtml

ต้นทองกวาว ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่

ต้นทองกวาว
ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่

ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่ - ต้นทองกวาว

ต้นไม้ประจำจังหวัด              เชียงใหม่
ชื่อพันธุ์ไม้                            ทองกวาว
ชื่อสามัญ                              Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree
ชื่อวิทยาศาสตร์                    Butea monosperma Kuntze.
วงศ์                                      LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น                                   กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป                       เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 8–15 เมตร เปลือกสีเทาคล้ำแตกเป็นร่องตื้นๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบออกสลับกัน ออกดอกเป็นช่อตามกิ่งก้านและที่ปลายกิ่ง ดอกสีเหลืองถึงแดงแสด ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแบน มีเมล็ดที่ปลายฝัก
ขยายพันธุ์                             โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด                             ที่ราบลุ่มในป่าผลัดใบ ป่าหญ้าหรือป่าละเมาะที่แห้งแล้ง พบมากทางภาคเหนือ

ที่มา                                      http://www.panmai.com/PvTree/tr_14.shtml

ต้นกาซะลองคำ ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงราย

ต้นกาซะลองคำ
ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงราย

ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงราย - ต้นกาซะลองคำ

ต้นไม้ประจำจังหวัด              เชียงราย
ชื่อพันธุ์ไม้                            กาซะลองคำ
ชื่อสามัญ                              Tree Jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์                    Radermachera ignea (Kurz) Steenis
วงศ์                                       BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น                                   กากี (สุราษฎร์ธานี), กาซะลองคำ (เชียงราย), แคะเป๊าะ สำเภาหลามต้น (ลำปาง), จางจืด (เชียงใหม่), สะเภา อ้อยช้าง (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไป                       เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 6–20 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีแกมรูปหอก ปลายใบแหลมเป็นติ่ง โคนใบสอบแหลม ออกดอกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น สีเหลืองอมส้ม หรือสีส้ม กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกสั้นๆ 5 แฉก ผลเป็นฝัก เมื่อแก่แตกเป็นสองซีกเมล็ดมีปีก
ขยายพันธุ์                            โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง และแยกหน่อ
สภาพที่เหมาะสม                 ดินร่วนปนทราย
ถิ่นกำเนิด                             ขึ้นตามธรรมชาติบนเทือกเขาหินปูนที่ค่อนข้างชื้นทางภาคเหนือ

ที่มา                                      http://www.panmai.com/PvTree/tr_13.shtml

ต้นมะเดื่อชุมพร ต้นไม้ประจำจังหวัดชุมพร

ต้นมะเดื่อชุมพร
ต้นไม้ประจำจังหวัดชุมพร

ต้นไม้ประจำจังหวัดชุมพร - ต้นมะเดื่อชุมพร

ต้นไม้ประจำจังหวัด             ชุมพร
ชื่อพันธุ์ไม้                           มะเดื่อชุมพร
ชื่อสามัญ                            Cluster Fig
ชื่อวิทยาศาสตร์                  Ficus racemosa Linn.
วงศ์                                     LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น                                 กูแซ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เดื่อเกลื้อง (ภาคกลาง,ภาคเหนือ), เดื่อน้ำ (ภาคใต้), มะเดื่อ (ลำปาง), มะเดื่อชุมพร มะเดื่ออุทุมพร (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป                     เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 5–20 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมบางๆ ต่อมาจะหลุดร่วงไป ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบทู่ถึงกลม ออกดอกเป็นกระจุก ดอกขนาดเล็ก ผลรูปไข่กลับ เมื่อสุกสีแดงเข้มถึงม่วง
ขยายพันธุ์                          โดยการเพาะเมล็ด และปักชำกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม               ดินร่วน และมีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำได้ดี
ถิ่นกำเนิด                           ประเทศศรีลังกา จีนตอนใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่มา                                    http://www.panmai.com/PvTree/tr_12.shtml

ต้นขี้เหล็กบ้าน ต้นไม้ประจำจังหวัดชัยภูมิ

ต้นขี้เหล็กบ้าน
ต้นไม้ประจำจังหวัดชัยภูมิ

ต้นไม้ประจำจังหวัด         ชัยภูมิ 
ชื่อพันธุ์ไม้                        ขี้เหล็กบ้าน  
ชื่อสามัญ                          Thai Copper Pod 
ชื่อวิทยาศาสตร์               Cassia siamea Lank. 
วงศ์                                    LEGUMINOSAE 
ชื่ออื่น                                ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี), ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ), ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง), ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง), ผักจีลี้ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), มะขี้เหละพะโดะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ยะหา (มลายู-ปัตตานี) 
ลักษณะทั่วไป                   เป็นไม้ยืนต้น เปลือกสีเทาอมน้ำตาลแตกตามยาวเป็นร่อง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับกัน ออกดอกเป็นช่อสีเหลืองที่ปลายกิ่ง ฝักแบนสีน้ำตาล 
ขยายพันธุ์                       โดยการเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง 
สภาพที่เหมาะสม            ดินทุกชนิด ทนแล้ง ต้องการน้ำปานกลา 
ถิ่นกำเนิด                         ป่าเบญจพรรณชื้นทั่วประเทศ เช่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี และชุมพร 

ที่มา                                   http://www.panmai.com/PvTree/tr_11.shtml

ต้นประดู่ป่า ต้นไม้ประจำจังหวัดชลบุรี

ต้นประดู่ป่า
ต้นไม้ประจำจังหวัดชลบุรี

ต้นไม้ประจำจังหวัดชลบุรี - ต้นประดู่ป่า

ต้นไม้ประจำจังหวัด           ชลบุรี
ชื่อพันธุ์ไม้                         ประดู่ป่า
ชื่อสามัญ                           Bermese Ebony
ชื่อวิทยาศาสตร์                 Pterocarpus macrocarpus Kurz
วงศ์                                   PAPILLIONACEAE
ชื่ออื่น                                จิต๊อก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ฉะนอง (เชียงใหม่), ดู่ ดู่ป่า (ภาคเหนือ), ตะเลอ เตอะเลอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ประดู่ ประดู่ป่า (ภาคกลาง) ประดู่ ประดู่เสน (ราชบุรี, สระบุรี)
ลักษณะทั่วไป                    เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 15–25 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลดำแตกเป็นสะเก็ด เปลือกในมีน้ำเลี้ยงสีแดง เนื้อไม้สีขาวอมเหลือง แก่นสีน้ำตาลแกมแดง เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบเป็นติ่ง โคนใบมน ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบ รูปดอกถั่ว กลีบดอกสีเหลืองอ่อนกลิ่นหอม ผลแผ่เป็นปีกแบนๆ มีขนาดใหญ่กว่าประดู่บ้าน และมีขนปกคลุมทั่วไป
ขยายพันธุ์                         โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม               ดินร่วน ทนแล้ง ต้องการน้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิด                         ป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้งทั่วไป

ที่มา                                  http://www.panmai.com/PvTree/tr_09.shtml

ต้นนนทรีป่า ต้นไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา

ต้นนนทรีป่า
ต้นไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเ

ต้นไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา - ต้นนนทรีป่า

ต้นไม้ประจำจังหวัด         ฉะเชิงเทรา
ชื่อพันธุ์ไม้                       นนทรีป่า
ชื่อสามัญ                         Copper pod
ชื่อวิทยาศาสตร์               Peltophorum dasyrachis Kurz, ex Baker
วงศ์                                  LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น                              กว่าเซก (เขมร-กาญจนบุรี), คางรุ้ง คางฮ่ง (พิษณุโลก), จ๊าขาม ช้าขม (ลาว), ตาเซก (เขมร-บุรีรัมย์), นนทรีป่า (ภาคกลาง), ราง (ส่วย-สุรินทร์), ร้าง อะราง อะล้าง (นครราชสีมา), อินทรี (จันทบุรี)
ลักษณะทั่วไป                  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 15–30 เมตร เรือนยอดเป็นรูปพุ่มกลมทึบ เปลือกต้นสีทองหรือสีเทาอมน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปขอบขนานปลายใบและโคนใบมน ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ สีเหลืองสด กลีบดอกมีลักษณะย่น ออกดอกพร้อมกับใบอ่อนช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลเป็นฝักแบนรูปหอก
ขยายพันธุ์                      โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม           เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิด                       ป่าดงดิบแล้งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตามป่าโปร่งภาคเหนือของประเทศไทย

ที่มา                               http://www.panmai.com/PvTree/tr_08.shtml

ต้นจัน ต้นไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี

ต้นจัน
ต้นไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี

ต้นไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี - ต้นจัน

ต้นไม้ประจำจังหวัด           จันทบุรี
ชื่อพันธุ์ไม้                         จัน                                                                                                                          ชื่อสามัญ                                                                                                                               ชื่อวิทยาศาสตร์                 Diospyros decandra Lour.                                                                            วงศ์                                  EBENACEAE                                                                                                                    ชื่ออื่น                              จัน จันอิน จันโอ (ทั่วไป), จันขาว จันลูกหอม (ภาคกลาง)                                                              ลักษณะทั่วไป                  เป็นไม้ยืนต้นสูง 20 เมตร ยอดอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปรี ดอก แยกเพศ เพศผู้เป็นช่อ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปคนโท สีขาวนวล ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวลักษณะคล้ายกับดอกเพศผู้แต่มีขนาดใหญ่กว่า ผลเป็นผลสดมีสองลักษณะคือ ทรงกลมแป้นเรียกว่าลูกจัน และทรงกลมเรียกว่าลูกอิน เมื่อสุกสีเหลือง มีกลิ่นหอม และกลีบเลี้ยงยังคงติดอยู่                        ขยายพันธุ์                        โดยการเพาะเมล็ด                                                                                                     สภาพที่เหมาะสม              เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด กลางแจ้ง                                                          ถิ่นกำเนิด                        นิยมปลูกตามบ้านเรือนและบริเวณวัด

ที่มา                                 http://www.panmai.com/PvTree/tr_07.shtml  

ต้นไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น

ต้นกัลปพฤกษ์
ต้นไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น

ต้นไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น - ต้นกัลปพฤกษ์

ต้นไม้ประจำจังหวัด      ขอนแก่น 
ชื่อพันธุ์ไม้                    กัลปพฤกษ์ 
ชื่อสามัญ                      Pink Cassia, Pink Shower, Wishing Tree 
ชื่อวิทยาศาสตร์           Cassia bakeriana Craib                 วงศ์                               LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น                           กัลปพฤกษ์ (ภาคกลาง, ภาคเหนือ), กานล์ (เขมร-สุรินทร์), เปลือกขม (ปราจีนบุรี) 
ลักษณะทั่วไป               เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 20 เมตร โคนมีพูพอน เปลือกสีดำแดงแตกเป็นร่องลึก กิ่งอ่อนและช่อดอกมีขนนุ่มสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับกัน รูปหอกแกมขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อตามกิ่งพร้อมใบอ่อน ใบประดับรูปหอก ดอกเริ่มบานสีชมพู แล้วเปลี่ยนเป็นสีขาวตามลำดับ ผลเป็นฝักทรงกระบอก 
ขยายพันธุ์                    โดยการเพาะเมล็ด 
สภาพที่เหมาะสม         เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด แสงแดดจัด 
ถิ่นกำเนิด                     อเมริกาใต้ และตามป่าเบญจพรรณทั่วไป 

ที่มา                              http://www.panmai.com/PvTree/tr_06.shtml